ท่อ PPR กรีนไปป์ – ท่อประปาและท่อน้ำร้อนคุณภาพสูง
ท่อ PPR (Polypropylene Random Copolymer) หรือที่เรียกว่า “ท่อ PPR สีเขียว” ได้รับความนิยมในงานระบบประปาและระบบน้ำร้อนเนื่องจากคุณสมบัติที่ทนทาน ไม่รั่วซึม และรองรับอุณหภูมิสูงได้ดี
ท่อ PPR คืออะไร?
คุณสมบัติและการใช้งานของท่อ PPR กรีนไปป์
ท่อ PPR เป็นท่อพลาสติกที่ทำจากวัสดุ Polypropylene Random Copolymer (PPR) ซึ่งเหมาะสำหรับใช้งานระบบน้ำร้อนและน้ำเย็นในบ้าน โรงแรม และโรงงานอุตสาหกรรม ท่อ PPR มีอายุการใช้งานยาวนานกว่า 50 ปีและทนทานต่อความร้อนและแรงดันสูง
ข้อต่อท่อ PPR และระบบการเชื่อม
การเชื่อมต่อ ข้อต่อท่อ PPR กรีนไปป์ด้วยความร้อนที่อุณหภูมิ 250-260 องศา ทำให้การเชื่อมแน่นสนิท ไม่รั่วซึม ทนแรงดันได้ถึง 20 บาร์ และรองรับอุณหภูมิได้สูงถึง 95 องศาเซลเซียส
ข้อดีของท่อ PPR กรีนไปป์
คุ้มค่า : ท่อ ppr กรีนไปป์ ราคาประหยัด ไม่ต้องจ่ายแพง เริ่มต้นที่เมตรละ ไม่ถึง 20 บาท และหาซิ้อง่าย ที่ Dohome ทั่วประเทศ
ทนทานต่อแรงดันและอุณหภูมิสูง: รองรับแรงดันน้ำสูงถึง 20 บาร์และทนความร้อนได้ถึง 95 องศาเซลเซียส
โครงการคุณภาพมากมายเลือกใช้ท่อ ppr กรีนไปป์ : คลิกเพื่อดูโครงการที่เลือกใช้กรีนไปป์
การติดตั้งที่รวดเร็วและง่ายดาย: สามารถใช้งานได้ทันทีหลังการติดตั้งเนื่องจากการเชื่อมด้วยความร้อน ทำให้ไม่ต้องรอกาวแห้ง
อายุการใช้งานที่ยาวนาน: สามารถใช้งานได้ยาวนานถึง 50 ปี ลดค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา
มีบริการอบรมช่างติดตั้ง ppr ถึงหน้างาน ฟรี
การใช้งานท่อ PPR กรีนไปป์ในระบบต่างๆ
ท่อน้ำประปา SDR 11 (PN10): ใช้ในระบบน้ำทั่วไปที่อุณหภูมิไม่เกิน 60 องศาเซลเซียส รับแรงดันได้ 10 บาร์
ท่อน้ำร้อน SDR 6 (PN20): (คาดแดง): ใช้ในระบบน้ำร้อน ไม่เกิน 95 องศาเซลเซียส รับแรงดันได้สูงถึง 20 บาร์เช่น เครื่องทำน้ำร้อน และท่อในโรงงานอุตสาหกรรม โรงแรม ที่ต้องใช้ระบบท่อส่งผ่านความร้อนสูง
ข้อต่อท่อ PPR: รับแรงดันได้สูงถึง 20 บาร์และทนอุณหภูมิได้สูงถึง 95 องศาเซลเซียส แข็งแรง ทนทาน มีทั้งระบบเกลียวและหน้าแปลน จึงสามารถติดตั้งร่วมกับท่อและสุขภัณฑ์อื่นๆ ได้ทุกชนิด
ท่อพีพีอาร์ กรีนไปป์
SDR 11 PN 10
ใช้กับท่อประปา/ ท่อน้ำอุ่น อุณหภูมิ 3-60°C ความดัน 10 บาร์
ท่อพีพีอาร์ กรีนไปป์
SDR 6 PN 20
ใช้กับท่อประปา/ ท่อน้ำร้อน อุณหภูมิ 3-95°C ความดัน 20 บาร์
ชื่อเต็มของท่อ PPR
ท่อเขียว หรือท่อ PPR ที่เราใช้เรียกกันบ่อยๆเป็นเพียงชื่อย่อ โดยชื่อเต็มของท่อ PPR มาจาก Polypropylene Copolymer Random คือพลาสติกประเภทโพลีโพรไพลีน ที่มีการจัดเรียงตัวแบบไม่เจาะจง ทำให้ได้คุณสมบัติทางเคมีและทางกายภาพที่ดีขึ้น ทนทาน สะอาดปลอดภัย ความหนาแน่นสูง แสงลอดผ่านไม่ได้ เหมาะสมสำหรับการใช้จ่ายน้ำในงานระบบท่อน้ำประปา หรือการใช้น้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคได้เป็นอย่างดี ซึ่งงานระบบท่อประปาถือว่าเป็นหัวใจหลักในการลำเลียงน้ำไปยังส่วนต่างๆภายในอาคาร เพื่อจ่ายน้ำสะอาดไปยังห้องของผู้พักอาศัย ผู้ใช้งาน หากท่อประปาที่เลือกใช้ในอาคารได้คุณภาพ ก็จะไม่มีปัญหาการซ่อมแซมในภายหลัง จำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกคนต้องมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับท่อน้ำ
ท่อ PPR กรีนไปป์ (grean pipe) ใช้เม็ดพลาสติกคุณภาพยุโรปได้รับใบรับรองมาตรฐาน DIN 8077–8078, DIN 16887, ISO/TR 9080, ISO 3213 ไม่ใช้เม็ด recycle ท่อน้ำประปา ขนาด ½”(20 mm) ราคาเมตรละ 20 บาท ส่วนท่อน้ำร้อน ราคา 35 บาทต่อเมตรเท่านั้น ซึ่งถือว่าเป็นท่อน้ำร้อนที่ราคาดีที่สุด และสิ่งสำคัญ คือ ท่อและข้อต่อผลิตจากโรงงานเดียวกัน เม็ดพลาสติกชนิดเดียวกัน ทำให้การเชื่อมผสานเป็นเนื้อเดียวกันได้อย่างสมบูรณ์ ไม่รั่วซึม หมดปัญหาระยะยาว
นอกจากเป็นท่อ PPR คุณภาพแล้ว ท่อกรีนไปป์ (grean pipe) ยังแตกต่างจากท่อ PPR ที่นำเข้าจากประเทศจีนทั่วไป คือ มีสต็อกสินค้าอย่างครบถ้วน มีบริการหลังการขาย และที่สำคัญ มีการรับประกันสินค้า จึงไม่ใช่แค่การนำเข้า PPR มาขาย ไม่กี่ตู้ container แล้วก็หายไปจากตลาด กรีนไปป์ (grean pipe) เริ่มก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2550 ก้าวเข้าสู่ปีที่ 13 มีโครงการชั้นนำมากมายทั่วไทยเลือกใช้ จึงมั่นใจได้ว่า ท่อกรีนไปป์ไม่ใช่แค่ซื้อมา-ขายไป แต่ยังดูแล เอาใจใส่ ลูกค้าอย่างดีที่สุดทั้งก่อนและหลังการขาย
ขนาดและราคาท่อ PPR กรีนไปป์
ราคาท่อ PPR มีให้เลือกหลายขนาดตั้งแต่ 1/2 นิ้ว (D20) ถึง 6 นิ้ว (D160) และราคาท่อ PPR กรีนไปป์ เริ่มต้นเพียงเมตรละ 20 บาท สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมในโบรชัวร์หรือ Price List
อ่านข้อมูลเพิ่มเติม
ท่อ PPR กรีนไปป์: คุณภาพที่คุณวางใจได้
ท่อ PPR กรีนไปป์ ผลิตจากเม็ดพลาสติกคุณภาพสูงนำเข้าจากยุโรป ซึ่งผ่านกระบวนการผลิตที่ได้รับการรับรองมาตรฐานระดับสากล เช่น DIN 8077-8078, DIN 16887, ISO/TR 9080 และ ISO 3213 มาตรฐานเหล่านี้เป็นการยืนยันถึงความปลอดภัยและความทนทานของผลิตภัณฑ์ ทำให้มั่นใจได้ว่าท่อ PPR กรีนไปป์เหมาะสำหรับการใช้งานระบบประปาและระบบน้ำร้อนในทุกสภาวะ ทั้งในบ้าน อาคารสูง หรือโรงงานอุตสาหกรรม
ท่อ PPR กรีนไปป์ถูกออกแบบและผลิตเพื่อตอบโจทย์ผู้ใช้งานที่ต้องการผลิตภัณฑ์ที่เชื่อถือได้ ทนทานต่อการใช้งานระยะยาว พร้อมการติดตั้งที่ง่ายดายและประสิทธิภาพสูงสุด
ท่อ PPR กับงานท่อน้ำเย็น ท่อน้ำร้อน ท่อน้ำอุ่น
การใช้งานประเภทแรก คือ ใช้กับท่อน้ำดี หรือท่อน้ำเย็น เพื่อการอุปโภคและบริโภคที่อุณหภูมิ 3 – 60 °C ความดัน 10 บาร์ โดยมีชื่อรุ่น PP-R Pipe SDR 11 PN 10
การใช้งานประเภทอีกประเภท คือ ท่อน้ำร้อน แนะนำรุ่น PP-R Pipe SDR 6 PN 20 เรามาทำความเข้าใจระบบท่อน้ำร้อน ระบบทำน้ำอุ่นภายในอาคารกันก่อน ผู้ใช้งานฟังผ่านๆเราอาจจะเข้าใจว่าเป็นระบบที่ไม่ต่างกันมากนัก เป็นการทำให้น้ำอุณหภูมิสูงขึ้นเหมือนๆกัน แต่ในความเป็นจริงแล้ว 2 ระบบนี้มีความแตกต่างกันอยู่มาก ตั้งแต่อุปกรณ์ที่ใช้ การเดินงานระบบ และการใช้งาน เรามาทำความเข้าใจเรื่องนี้ไปพร้อมกัน
ระบบท่อน้ำร้อนสามารถแบ่งเป็น 2 ประเภทง่ายๆ ดังนี้
- น้ำร้อนที่มาจากเครื่องทำน้ำอุ่น เกิดจากการที่น้ำเย็นไหลผ่านท่อ ซึ่งส่วนใหญ่คือท่อทองแดงที่ขดตัวไปมาภายในเครื่องทำน้ำอุ่น ดังนั้น การเดินงานท่อคือจะเป็นการต่อท่อน้ำเย็น หรือสายอ่อนเข้าเครื่องได้เลย ไม่จำเป็นต้องเดินท่อน้ำร้อน แต่ข้อสำคัญของเครื่องทำน้ำอุ่นเลยก็คือ ติดตั้งสายดินเพื่อป้องกันจากการโดนไฟดูด
- น้ำร้อนที่มากจากหม้อต้ม หรือระบบพลังงานแสงอาทิตย์* ซึ่งต้องเดินท่อเพื่อจ่ายน้ำร้อนให้กับอ่างอาบน้ำ หรือ Rain shower ซึ่งมักมีอุณหภูมิ 60 °C ขึ้นไป จะเป็นการไหลผ่านหม้อต้ม ก่อนจะจ่ายน้ำร้อนไปตามจุดต่าง ๆ ของอาคาร เช่น ก๊อกผสมเพื่อน้ำร้อนและน้ำเย็น สำหรับต้องการปรับอุณหภูมิตามความต้องการ หรืองานระบบที่ต้องการความร้อนที่ค่อนข้างคงที่ จึงจำเป็นต้องใช้ระบบท่อน้ำร้อนที่รองรับอุณหภูมิที่สูงได้ ซึ่งการวางท่อน้ำร้อนภายในอาคาร เพื่อจ่ายไปยังจุดต่างๆเพื่อการใช้งาน ต้องเป็นตามข้อบังคับความปลอดภัย โดยมีอุปกรณ์ป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากเครื่องทำน้ำร้อน
*สอบถามข้อมูลเรื่องพลังงานแสงอาทิตย์เพิ่มเติมจากผู้จัดจำหน่าย
คุณสมบัติที่โดดเด่นของท่อพีพีอาร์ ก็คือความสามารถในการใช้งานร่วมกับน้ำที่มีอุณหภูมิสูงอย่างน้ำร้อนได้ถึง 95°C ทนทาน ไม่เปราะ ไม่ย้วยเหมือนกับท่อ PVC ซึ่งการมาของท่อ PPR ถือว่าเป็นอีกหนึ่งทางเลือกกับการใช้งานระบบท่อน้ำร้อนได้อย่างตอบโจทย์ ทางคุณภาพ และราคา เพราะก่อนหน้านั้นท่อที่จะได้รับความนิยมในการใช้งานระบบท่อน้ำร้อนก็คือท่อเหล็ก แข็งแรง ทนทาน แต่ก็ต้องแลกกับน้ำหนักที่เยอะ ยากสำหรับขนส่งเคลื่อนย้าย และการติดตั้งหน้างาน ประเด็นสำคัญที่สุดคือมีโอกาสเกิดสนิมในท่อน้ำเมื่อใช้งานไปนานๆ เรียกได้ว่าท่อพีพีอาร์ ถือว่าเป็นทางเลือกที่ดีที่จะใช้กับงานระบบท่อน้ำร้อน
นอกเหนือจากงานระบบประปา ท่อพีพีอาร์ยังสามารถใช้กับงานระบบอื่นๆได้อีกด้วย ได้แก่ ระบบท่อลม (Chiller) ระบบท่อน้ำสำหรับสระว่ายน้ำ ระบบท่อสำหรับน้ำกลั่น ระบบท่อในโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น ชมภาพโครงการที่เลือกใช้ท่อพีพีอาร์ กรีนไปป์ ได้ที่นี่
ท่อ PPR กรีนไปป์ vs ท่อ PVC
ท่อ PPR และท่อ PVC แตกต่างกันอย่างไร?
ท่อ PPR กรีนไปป์ ผลิตจากเม็ดพลาสติกคุณภาพสูงนำเข้าจากยุโรป ซึ่งผ่านกระบวนการผลิตที่ได้รับการรับรองมาตรฐานระดับสากล เช่น DIN 8077-8078, DIN 16887, ISO/TR 9080 และ ISO 3213 มาตรฐานเหล่านี้เป็นการยืนยันถึงความปลอดภัยและความทนทานของผลิตภัณฑ์ ทำให้มั่นใจได้ว่าท่อ PPR กรีนไปป์เหมาะสำหรับการใช้งานระบบประปาและระบบน้ำร้อนในทุกสภาวะ ทั้งในบ้าน อาคารสูง หรือโรงงานอุตสาหกรรม
ท่อ PPR กับท่อ PVC ต่างกันอย่างไร
เมื่อพูดถึงการใช้งานของท่อพีพีอาร์กันไปแล้ว เราจะเปรียบกันให้เห็นชัดๆระหว่าง ท่อ PPR และ ท่อ PVC ที่ดูผิวเผินก็เป็นท่อสำหรับงานประปาเหมือนกัน ใช้ในการลำเลียงน้ำไปยังจุดต่างๆของอาคารเหมือนกัน แต่ถ้าลงรายละเอียดจะพบความแตกต่างอยู่มาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการติดตั้ง การใช้งานกับอุณหภูมิสูง คุณภาพของวัสดุ อายุการใช้งาน ทางกรีนไปป์จึงได้เปรียบเทียบคุณสมบัติของท่อ 2 แบบไว้ตามข้อมูลด้านล่าง
วิธีการติดตั้งท่อ PPR | วิธีการติดตั้งท่อ PVC |
ท่อพีพีอาร์ ติดตั้งโดยใช้เครื่องเชื่อม ให้ความร้อนผิวท่อและข้อต่อ เพื่อประสานเป็นเนื้อเดียวกัน มั่นใจได้ว่าจะไม่เกิดปัญหารั่วซึมในภายหลัง | ท่อ PVC ใช้กาวเชื่อมในการประสานท่อและข้อต่อเข้าด้วยกัน ซึ่งการใช้กาวอาจจะทำให้เกิดการรั่วซึมในภายหลัง |
คุณภาพวัสดุท่อ PPR | คุณภาพวัสดุท่อ PVC |
มีความหยุ่นเหนียว ไม่แตกหัก เมื่อโดนเหยียบหรือโดนกระแทก | ลักษณะท่อเปราะแตกง่าย เมื่อโดนเหยียบ ไม่ทนต่อแรกกระแทก |
อายุการใช้งานท่อ PPR | อายุการใช้งานท่อ PVC |
มีอายุการใช้งานยาวนานถึง 50 ปี ด้วยการติดตั้งแบบเชื่อมเป็นเนื้อเดียวกัน ทำให้มีอายุการใช้งานที่ยาวกว่า อีกทั้งไม่ต้องกังวลเรื่องปัญหารั่วซึม และแสงไม่ลอดผ่าน | ขึ้นอยู่กับอายุกาวและการติดตั้ง ซึ่งยังมีการเสื่อมสภาพได้ หากได้รับแสงอุลตร้าไวโอเลทที่มากับแดดเป็นเวลานาน |
ระบบน้ำร้อนกับท่อ PPR | ระบบน้ำร้อนกับท่อ PVC |
ท่อพีพีอาร์ กรีนไปป์ รุ่นคาดแดง สามารถใช้งานกับระบบน้ำร้อน อุณหภูมิสูงสุด 95 °C | ใช้งานกับท่อน้ำร้อนไม่ได้ เพราะผู้ผลิตระบุไว้ว่าผู้ผลิตระบุว่าใช้ได้ไม่เกิน 60 °C |
หากลงรายละเอียด ทำความเข้าใจกับการเลือกใช้ท่อ จะพบว่ามีความแตกต่างกันอย่างโดยสิ้นเชิง และยิ่งไปกว่านั้น หากเป็นการเลือกซื้อบ้าน คอนโด อาคารชุด จะทำให้รู้ว่าวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้าง เป็นตัวบ่งบอกต้นทุน และเกรดของบ้าน คอนโด ที่คุณจะซื้อได้เป็นอย่างดี การรู้และเข้าใจในเรื่องท่อเพื่อประกอบการตัดสินใจซื้อ
แม้ว่างานระบบประปาจะมีการทดสอบหารอยรั่วก่อนเปิดใช้งานอาคาร แต่ปัญหางานท่อประปามักจะเกิดขึ้นเมื่อมีการใช้งานไปสักระยะ ซึ่งสาเหตุที่เกิดการรั่วซึมขึ้นจะเป็นเรื่องการติดตั้งท่อไม่เรียบร้อย การใช้งานปั๊มที่มีแรงดันสูง ทำให้ท่อประปาแตกได้ กลายเป็นต้องเสียค่าใช้จ่ายสำหรับการซ่อมแซมในอนาคต
วิธีการติดตั้งท่อ PPR
ขั้นตอนการติดตั้งของท่อ PPR ตามหลักมาตรฐานท่อประปาไม่ว่าจะชนิดไหนก็ตาม ท่อที่ต่อหรือเชื่อมเข้าด้วยกัน ตรงรอยต่อต้องมีความหนาและแข็งแรงพอที่จะรับน้ำหนักของท่อเอง และแรงดันน้ำภายในท่อได้ปลอดภัย ไร้ปัญหารั่วซึม ตรงนี้ท่อพีพีอาร์สามารถทำให้คุณมั่นใจได้ว่าจะไม่เกิดปัญหาการรั่วในภายหลัง ด้วยวิธีการติดตั้งด้วยเครื่องเชื่อม เป็นเนื้อเดียวกัน และเมื่อคุณเป็นลูกค้าของกรีนไปป์ ทางทีมงานของเราจะให้บริการอบรมเกี่ยวกับท่อพีพีอาร์ และให้คำปรึกษาฟรี
ขั้นการตอนติดตั้งท่อพีพีอาร์ ดังนี้
- ใช้กรรไกรตัดท่อตามระยะที่ต้องการ
- ทำเครื่องหมายด้วยแผ่นวัดระยะ (Marker) ตามช่องที่ระบุขนาดของท่อ
- เมื่อเครื่องเชื่อมพีพีอาร์เปลี่ยนจากไฟสีแดงเป็นไฟสีเขียว อุณหภูมิ 250-260 °C ให้นำท่อพีพี-อาร์และข้อต่อพีพี-อาร์ หลอมให้ความร้อน โดยสอดท่อเข้าไปในหัวเชื่อมให้ลึกจนถึงตำแหน่งที่ทำเครื่องหมายไว้ ให้ความร้อนตามเวลาที่ระบุบนเส้นท่อ หรือตารางการให้ความร้อน
ข้อควรระวัง : ให้ทำความสะอาดท่อและข้อต่อบริเวณที่จะทำการเชื่อมอย่าให้มีเศษผงหรือสิ่งแปลกปลอมติดอยู่ อีกทั้งอย่าดันท่อเข้าไปในหัวเชื่อมเกินกว่า ตำแหน่งทำเครื่องหมายไว้
- ดึงท่อและข้อต่อออกจากหัวเชื่อม แล้วสอดท่อและข้อต่อเชื่อมเข้าหากันภายในเวลาที่กำหนดของแต่ละขนาด ทิ้งไว้ให้เย็นก็สามารถเริ่มใช้น้ำได้ทันที (เวลาในการทำงานให้ดูตามตารางเวลาให้ความร้อน)
ข้อควรระวัง : ในช่วงที่ดันท่อกับข้อต่อเข้าด้วยกัน หลังจากหลอมแล้วสามารถจัดหรือขยับท่อให้ตรงได้แต่ไม่ควรบิดหมุนท่อ
จุดเด่นของท่อกรีนไปป์ ระบุเวลาในการให้ความร้อนไว้ทุกเส้นจึงติดตั้งง่าย (ได้รับการคุ้มครองภายใต้อนุสิทธิบัตร)